วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

รีวิวการแกะเคสคอมพิวเตอร์ (Case)

สวัสกันอีกรอบนะคะชาวไอทีทั้งหลาย วันนี้ก็กลับมาเจอกันอีกแล้วกับการรีวิว ในวันนี้ก็จะมารีวิวการแกะเคสคอมพิวเตอร์กันนะคะ เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วการแกะโน๊ตบุ๊คของตัวเองก็ผ่านไปได้ด้วยดี แล้วก็โคจรมาพบกันอีกแล้ว กับการแคะ แกะ เกา แต่วันนี้เราไม่ได้มาคนเดียว มีผู้ร่วมชะตากรรมอีก 2 คนค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดดดดดดดดดด

และนี่คือโฉมหน้าผู้ร่วมชีวิตในครั้งนี้ค่ะ แฮ่!!!!!





ตอนนี้เราได้ไปยืมเคสมาจากห้องคอมที่เก็บอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้ หรือนัยๆว่าใช้ไม่ได้แล้วนั่นแหละค่ะ เก็บไว้เยอะแยะมากมาย จนได้ชื่อใหม่ว่า ห้องสุสานคอม พอได้มาแล้วเราก็เริ่มแกะกันที่ละจุดเลย ในส่วนนี้ลืมถ่ายภาพสภาพสมบูรณ์ไว้เนื่่องจากว่าตื่นเต้น และ มันมือกันมาก 55555


























สภาพข้างในตัวเคสก็จะเป็นเยี่ยงนี้แลลลลล หืมมมมมม นี่มันอะไร ระโยงระยางเยอะแยะไปหมดเลยยย




เอาเป็นว่าแงะออกมาก่อนละกันนะ





ช่วยกันคนละไม้คนละมือในที่สุด Modrem Link กับ Ram ก็ออกมาจนได้





แล้วสายแพก็ตามมา





Main board ก็กะลังจะตามาาาาา





แงะๆๆๆ แกะๆๆๆ จนข้างในโล่งเตียนไปหมดเลยยยยย เฮ้ออออ สบายตา 5555





รวมๆๆแล้วอุปกรณ์ก็หลายชิ้นเหมือนกันนะเนี่ย





เมือแกะออกมาจนหมดแล้วก็ได้เวลาที่อุปกรณ์แต่ละชิ้นจะได้แนะนำตัว เริ่มจากตัวเคสเลยแล้วกันนะคะ เคสที่เราเลือกจะเป็นยี่ห้อ acer ค่ะ

ต่อมาก็จะเป็นแรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที ว่าแล้วก็มาดูข้อมูลแรมของเรากันดีกว่าาาา


Ram ยี่ห้อ KINGMAX 
Type : DDR
ความเร็วบัส : 400
Size : 1 GB หรือ 1024 MB




 Main board ของเราก็เป็นยี่ห้อ Acer เช่นเดียวกันกับตังเคสเลยค่ะ  เมนบอร์ด (Mainboard) คือ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์ เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่ ซีพียู (CPU) และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์ พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์ เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกนั่นเองค่ะ




CPU ทำหน้าที่  ใน การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์  และเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูลและ ควบคุม  การทำงานของคอมพิวเตอร์ การที่เราสั่งให้คำนวณตัวเลข ก็คือเจ้าตัวนี้นี่แหละค่ะ เป็นหน่วยคำนวณ 

CPU : Intel Pentium 4 2.4 GB





Heat Sink(พัดลมซีพียู) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระบายความร้อนให้กับ CPU

ยี่ห้อ : Intel




Hard Disk ฮาร์ดดิสก์ เป็นที่บรรจุข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ เก็บโปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ หรือต้องการจะเก็บรักษาเอาไว้ใช้งานในคราวต่อไป จะแตกต่างกับหน่วยความจำแรมตรงที่ ดิสก์จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ได้ตลอดเวลาแม้ว่าคุณจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ตาม โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ภายในดิสก์จะถูกบันทึกเอาไว้บนผิวหน้าแม่เหล็กของดิสก์

ยี่ห้อ : Maxtor
Type : ATA/133
Size : 40 GB





Optical Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี/ดีวีดีด้วยกระบวนการทำงานของแสงเลเซอร์ ปัจจุบันอุปกรณ์ออปติคอลไดรว์มีอยู่หลายอย่างมากมายเลยล่ะค่ะ แต่ของเราจะมีหน้าตาแบบนี้




Power Supply หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ Power Supply ไม่ใช้แค่เป็นตัวจ่ายไฟอย่างเดียว จริงๆแล้วหน้าที่หลังของ Power Supply คือตัวแปลงไฟล์ฟ้าจากระบบไฟฟ้าบ้านที่มีแรงไฟฟ้าที่เยอะเกินความต้องการของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟฟ้าบ้านในไทยมีไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่อุปกรณ์บางชนิดต้องการแค่ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามลำดับ หรือจะพูดง่ายๆคือ Power Supply เป็นตัวแปลงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นเอง




อุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายในวันนี้คืออออออออ.....modem link 




วันนี้ก็ขอลาไปเพียงเท่านี้ค่าาาาาา Bye Bye ^^

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

Lenovo Ideapad G4070

สวัสดีชาวไอทีทั้งหลาย วันนี้ในนามของเด็กคอม แต่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องคอมเท่าไหร่ ได้มีโอกาสมาศึกษาเรื่องโน๊ตบุ๊คอย่างจริงจังจึงมาขอรีวิวกันซักหน่อย โน๊ตบุคเรื่องนั้นก็ไม่ใช่เครื่องไหน เป็นเครื่องที่ตัวเองใช้อยู่เป็นประจำนี่ล่ะค่ะ เอาเป็นว่า ได้ไปแคะ แกะ เกา อะไรต่อมิอะไรมาพอสมควร ซึ่งเครื่องก็ยังไม่สิ้นประกันดี แต่ก็จำเป็นอ่ะนะคะ ได้เวลาแล้วก็มาเปิดตัวเจ้าLenovo Ideapad G4070 กันเลยดีกว่า

1. ดีไซน์ โครงสร้าง และการออกแบบ

สำหรับ Lenovo Ideapad G4070 ตัวเครื่องจะเป็นสีดำด้าน เฉพาะฝาหลังเท่านั้นที่เป็นสีบรอนซ์เงิน



ในส่วนของบานพับจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ไม่สามารถเปิดหน้าจอด้วยมือเดียวได้ ส่วนภายในของ Lenovo Ideapad G4070 ออกแบบมาได้คมเข้ม ดุดัน นอกจากนี้ Lenovo Ideapad G4070 จะมาพร้อมกับจอแสดงผลขนาด 14 นิ้ว แบบ WUXGA ความละเอียด 1366x768 พิกเซล และมีน้ำหน้าของตัวเครื่องอยู่ที่ 2.20 กิโลกรัม



Lenovo Ideapad G4070 จะมากับคีย์บอร์ด Accutype ซึ่งเป็นคีย์บอร์ดที่ได้รับการออกแบบให้เข้ารูปกับนิ้วมือ ช่วยให้พิมพ์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น




ส่วนปุ่ม เปิด-ปิด จะอยู่ด้านซ้ายบนเหนือคีย์บอร์ด




และด้านขวาบนเหนือคีย์บอร์ดจะพบโลโก้ Dolby นั่นหมายความว่า Lenovo Ideapad G4070 มาพร้อมกับระบบเสียง Dolby นั่นเอง




ด้านซ้ายล่างของคีย์บอร์ดจะมีโลโก้ฟีเจอร์เด่นๆ ของ Lenovo Ideapad G4070 เช่น Slim 1 inch Design คือการออกแบบให้ตัวเครื่องมีความหนาเพียง 1 นิ้ว เป็นต้น




ด้านล่างขวาคีย์บอร์ดจะมีโลโก้ Intel Core i7 (Haswell) และโลโก้การ์ดจอจาก AMD




สำหรับ Touchpad ก็มีการตอบสนองต่อการใช้งานที่ดี นอกจากนี้ Lenovo Ideapad G4070 ยังมีที่พักมือขนาดใหญ่ ช่วยลดการเมื่อยล้าได้ เช่น ต้องพิมพ์งานต่อเนื่องหลายชั่วโมง เป็นต้น



ด้านใต้ของตัวเครื่องจะมีช่องระบายความร้อนและลำโพงเสียงแบบสเตอริโอ (ลำโพงจะมีทั้งหมด 2 ตัว อยู่ทั้งฝั่งซ้าย และฝั่งขวา)




2. พอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ

ด้านข้างทางขวา : จะประกอบไปด้วย ช่องสำหรับเชื่อมต่อกับหูฟังแบบมาตรฐาน ขนาด 3.5 มิลลิเมตร, Card Reader, พอร์ต USB เวอร์ชัน 2.0, DVD Drive และช่องสำหรับคล้องสายล็อคเครื่อง




ด้านข้างทางซ้าย : จะประกอบไปด้วย พอร์ต USB เวอร์ชัน 2.0, พอร์ต USB เวอร์ชัน 3.0, พอร์ต HDMI, พอร์ต VGA, ช่องระบายความร้อน และช่องสำหรับเชื่อมต่อกับสายชาร์จแบตเตอรี่




3. สเปคเครื่อง

- ซีพียู : Intel Core i7-4510U (2.00GHz Turbo Boost up to 3.10GHz) 4MB L3 Cache
- การ์ดจอ : AMD Radeon R5 M230 หน่วยความจำ 2GB
- แรม (RAM) : 4 GB DDR3
- ฮาร์ดดิสก์ : 500 GB 5400 รอบต่อนาที
- หน้าจอแสดงผล : 14 นิ้ว แบบ WXGA ความละเอียดระดับ (1366x768 Pixel) อัตราส่วน 16:9
- ระบบเสียง : Dolby Digital Plus
- ลำโพยงเสียง : สเตอริโอ
- ระบบปฏิบัติการ : DOS Operating System


4. สภาพข้างในตัวเครื่อง

ต่อไปจะเป็นการปฏิบัติภาระกิจที่นับได้ว่าเสี่ยงที่สุดก็ว่าได้ นั่นก็คือการเริ่มแกะเครื่องออกศึกษาดูนี่ล่ะค่ะ เพราะเครื่องพึ่งซื้อได้ไม่นาน อีกอย่างก็เก็บเงินซื้อเองด้วย ทำงานเลือดตาแทบกระเด็น (นี่มารีวิว หรือ มาดราม่า ฮาาาาา) กว่าจะแกะน็อตแต่ละตัวได้ก็เล่นเอามือสั่นกันเลยทีเดียวค่ะ เอาเป็นว่าเราไปดูกันเลยดีกว่าว่าข้างในตัวเครื่องจะมีลักษณะอย่างไรรรรรรรรรรรรร





เมื่อแกะเครื่องออกมาแล้ว จะเป็นการถอดแรมออกมาดูค่ะ มาถึงตอนนี้ก็เหงือแตกกันอีกอีกรอบ -_-  -_-   
จะสังเกตได้ว่ามีช่องเพิ่มแรมอีก 1 ช่อง ซึ่งถ้าเราอยากจะเพิ่มแรมเราก็สามารถซื้อมาใส่เพิ่มได้นั่นเองจ้าาาาาา



เมื่อแกะแรมเสร็จ สถานีต่อไปก็เป็นการแกะฮาร์ดดิสก์ค่ะ (ท่องนะโม 3 จบ แล้วก็ลุยเลยค่ะ ฮาาาา) และแล้วก็ได้ ฮาร์ดดิสก์ออกมา แท๊แดดดดดดด เป็นฮาร์ดดิสก์ของค่าย Seagate ค่ะ ขนาด500 GB 5400 รอบต่อนาที


และแล้วก็ผ่านไปได้ด้วยดี ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมกันนะค๊าาาาาาาา ^^