วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของสาย power supply connector

    สวัสดีตอนสายๆๆๆค่าาาาาา เพื่อนๆๆชาวไอที วันนี้เราก็มีภารกิจมาทำกันอีกเช่นเคย และภาระกิจในวันนี้ก็คือ คือ คือ...(เสียงแอคโค่ ฮาาา) การวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector นั่นเองค่าาาา ขอเรียกสั้นๆๆว่าสาย P1 ละกันนะคะ สั้นๆง่ายๆ ได้ใจความ แฮร่ๆๆ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดดดดดดดดดดด




     ก่อนอื่นเราก็ทำการแกะเจ้า power supply ออกมาจากเคสก่อนนะคะ เพื่อที่จะนำออกมาวัดศักย์ไฟฟ้าได้สดวก สบายไร้กังวล ฮาาาา และนี่ก็คือเจ้า power supply ของเรา
เพื่อให้รู้จัก power supply กันมากขึ้นเรามาดูหน้าที่ของ power supply กันค่ะว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ของ power supply  เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบคอมพิวเตอร์ power supplyนั้นจะมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX นั่นเองค่าาาา



    เมื่อเราได้ power supply ออกมาแล้ว เราก็เตรียมอุปกรณ์ในการวัดกันเลย โดยวันนี้เราจะใช้ Multi-meter แบบดิจิตอลนะคะ

หน้าที่ของ Multi-meter  มัลติมิเตอร์ถือว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับงานด้านอิเล็คทรอนิกส์ เพราะว่าเป็นเครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องวัดค่าไฟฟ้าค่ะ ซึ่งเจ้าMulti-meter ก็มีหน้าตาแบบนี้.....



วิธีการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของสาย power supply connector
เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วเราก็เริ่มกันเลยนะคะ โดยเริ่มจาก

1. ใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และ 15 หรือเผื่อว่าเราสับสนในการนับพิน เราก็จำแค่ว่าให้เสียบตรงช่องที่สายสีเขียวกับสีดำที่อยู่ติดกัน (Power switch ON) ก็ได้ค่ะ 



2. จากนั้นเราก็ทำการต่อสาย ไฟบ้านเข้ากับ power supply ของเราค่ะ



3. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (-) ต่อลง Ground (กราวด์หรือพินสีดำ) หรืออาจเสียบลงน็อตยึดตัวเคสของ Power supply ก็ได้ เพื่อที่จะสะดวกต่อการวัด ไม่ต้องคอยจับทั้งสองสายวัดพร้อมกันค่ะ



4. ทำการปรับค่าพิสัยหรือสเกลวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่แรงดัน DCV  โดยเลือกย่านวัดไปที่ค่าที่สูงกว่าค่าที่เราจะวัด ในที่นี้เราจะปรับไปที่แรงดัน DC 20V เนื่องจากค่าที่มาตรฐานเราวัดจะไม่เกิน 20V นั่นเองค่ะ



5. เมื่อเตรียมอุปกรณ์และทำการเซตค่าของ Multi-meter เรียบร้อยแล้ว เราก็ทำการวัดได้เลยค่ะ โดยการนำสายสีแดง เสียบลงไปในแต่ละพิน แล้วอ่านค่าจากหน้าปัด อาจจะมีความคลาดเคลื่อนบ้าง เราก็นำไปเปรียบเทียบใน Data sheet ได้ค่ะ



















เพื่อให้มองเห็ภาพชัดเจน เรามาดูวีดีโอประกอบกันนะคะ




เพียงเท่านี้เพื่อนๆๆ ก็สามารถวัดศักย์ไฟฟ้าเอง ง่ายๆ ได้ที่บ้านแล้วค่ะ สำหรับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ สวัสดีค่ะ แล้วพบกันใหม่ Blog หน้านะคะ ^^





- http://pommyblog.blogspot.com/2016/02/power-supply-connector.html
- https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
- http://www.un-sound.com/board/index.php?topic=1102.0

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รีวิว การเปฺิดเครื่องนอกเคส หรือการลอยบอร์ด

กุดอิ๊ฟนิ่งค่าาาาา เพื่อนๆชาวไอทีที่น่ารักทุกคน ได้เวลาสรรหาความรู้มาฝากกันแล้ว และในวันนี้เราก็จะมาทำการรีวิวในเรื่องของการ เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์นอกเคสกันค่ะ หรือการลอยบอร์ดนั่นเอง ต้องบอกก่อนเลยว่าวันที่ได้ทำการทดลองนั้นส่วนตัวไม่ได้ถ่ายรูปไว้เลย เลยไปขอยืมรูปเพื่อนในกลุ่มมาแทน ซึ่งก็ได้ขออนุญาตเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่าาาา อิอิ 

คำเตื่อน - การลอยบอร์ดมีความเสี่ยงต่อการเป็นหมันอย่างมากเพราะท่านอาจโดนไฟช็ตได้
              - หากต้องการลดประชากรบนโลก ก็จับเมนบอร์ดตอนเสียบปลั๊กได้เลยค่ะ แหม่ฟังดูร้ายแรงจัง



เอาเป็นว่าพร้อมแล้วเราก็ไปลุยกันโลดนะจ๊ะ ขั้นตอนแรกก็ทำการแกะเมนบอร์ดออกมาเสียก่อน 





















เมื่อแกะทุกอย่างออกมาแล้ว เราก็ต่อเข้าเหมือนตอนที่อยู่ในเคส (อ่าวแล้วจะถอดออกทำไม???)




เมื่อเราประกอบเข้าทุกอย่าแล้ว เราก็ต่อเมนบอร์ดเข้ากับจอคอมพิวเตอร์ เพื่อจะได้รู้ว่าเราทำการเปฺิด ปิด และ รีเซต สำเร็จหรือไม่ พร้อมแล้วก็ไปดูกันเล้ยยยยย

1. การเปิด และ ปิดคอมพิวเตอร์ โดยการลอยบอร์ด
>>>>ในที่นี้เราจะอ้างอิง data sheet นะคะเพื่อให้การทดลองของเราแม่นยำที่สุด <<<<<
ใน data sheet ทุกท่านจะสังเกตเห็นว่า การเปิด และ ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องทำการ จิ้มไปที่พิน 6 และ 8 ในการจิ้มนั้นเราจะใช้ไขควงในการจิ้มค่ะ 




 เมื่อเราดู data sheet แล้ว เราก็ทำการทดลองเลยค่ะ



2. การรีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการลอยบอร์ด
     การรีเซตนั้นก็ทำเช่นเดียวกันกับการเปิด-ปิด เครื่อง ค่ะ แต่ว่าคราวนี้เราต้องเปลี่ยนจากพินที่ 6และ7 เป็นพินที่ 7 กับ 9 นะคะ ดูได้จาก data sheet เลยยยยยยยยย



เอาเป็นว่าการดูภาพนิ่งนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ เราไปดูวีดีโอเสริมกันดีกว่านะคะ ซึ่งวีดีโอนี้เราได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณสุจริต แสงสุวรรณ สมาชิกในกลุ่มกิติมาศักดิ์ของเราได้ทำขึ้นมานั่นเองค่ะ ฮาาาาาา 



อ้างอิง https://www.youtube.com/watch?v=ZoYRD_NeDaA

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รีวิว การเปลี่ยนพัดลมPower supply

สวัสดีค่าาาาาาา วันนี้เราโคจรมาพบกันอีกแล้วนะคะ รอบนี้จะมารีวิวอะไรนั้น ไปดูกันโลดดดดดด ^^
สำหรับวันนี้เราจะมารีวิวการแกะพัดลมตัวPower supply กันนั่นองค้าาาาาาา ว่าด้วยการเปลี่ยนภายใต้เงื่อนไขที่ว่า มีอุปกรณ์บัดกรี กับไม่มีอุปกรณ์บัดกรี การเปลียแบบไหนจะยากง่ายอย่างไรพร้อมแล้วไปลุยกันเล้ยยยยยยยยยยยยย ผู้ร่วมชีวิตสามคนเหมือนเคยยยย อิอิ




เงื่อนไขแรก ถ้าหากเราไม่มีอุปกรณ์ในการบัดกรีเราจะทำอย่างไรหากพัดลมตัวPower supply เราเสีย???
แหม่...เป็นคำถามที่ทำเอาหลายคนหน้ายุ่งกันเลยทีเดียว แต่ไม่เป็นไรค่ะ วันนี้เราจะมาช่วยคุณเองงงงง
เริ่มแรกเราต้องมีตัวช่วยกันก่อนอุปกรณ์ง่ายๆๆ หาได้ในบ้านเรานี่เองค่ะ
1. กรรไกรตัดเล็บ 
2. คัตเตอร์ 
3. เทปพันสายไฟ
ไม่จำเป็นต้องเหมือนเราก็ได้นะคะ เอาที่เราถนัดในการใช้เป็นพอ แต่ว่าที่เลือกใช้อุปกร์ข้างต้นเนื่องจาก มีอุปกรณ์จำกัดค่ะ ฮาาาาาาา




ต่อมาเราก็แกะ Case เพื่อนำ พัดลมPower supply ออกมาค่ะ 




และนี่คือโฉมหน้าพระเอกของเรา อิอิ




เมื่อเราได้พัดลมตัวPower supply ออกมา แล้วเราก็หาสายไฟที่ต้่อจากตัวพัดลมPower supply จากนั้นก็ทำการ ตัด!! สายไฟออกเลยค่ะ ทั้งเส้นสีแดง และ เส้นสีดำ
เมื่อตัดสายไฟออกแล้ว เราก็ลอกพลาสติกที่หุ้มอยู่บนสายไฟออกทำทั้งสายที่ตัดอยู่กับ พัดลมPower supply แล้วก็ของพัดลมตัวใหม่ที่จะเอามาเปลี่ยนด้วยนะคะ




และแล้วก็ได้เวลาที่ทั้งสองจะได้เชื่อมสัมพันธไมตรีกันแล้วค่ะ เริ่มจากนำสายสีแดงต่อกับสายสีแดง สายสีดำต่อกัสายสีดำ แล้วก็พันด้วยเทปพันสายไฟ แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยค่าาาาา 





เงื่อนไขที่ 2. ถ้าหากพัดลมPower supply เราเสียแล้วเรามีอุปกรณ์บัดกรีครบ เราจะทำอย่างไร???

ขั้นตอนแรกก็ทำการเตรียมอุปกรณ์ในการบัดกรีให้พร้อมจากนั้นก็ทำการ ถอดสายไฟออกจากแผงวงจร โดยการละลายตะกั่วที่อยู่บนแผง จากนั้นก็นำหลอดดูดตะกั่ว มาดูดออกค่ะ 
คำเตือน!!! ขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างระวังนะคะ เพราะหัวแร้งร่้อนมาก อาจเป็นอันตราย และควรทำในที่โล่ง เนื่องจากตะกั่วที่ละลายออกมา ก็เป็นอันตรายเช่นเดียวกันค่ะ ^^





เมื่อละลายตะกั่วแล้วให้รีดึงสายไฟออกเลยนะคะ เพราะตะกั่วแห้งเร็วมากกกกกกก จากนั้นก็นำสายไฟออกจากวงจรให้ครบทั้งสองเส้นเลยนะคะ แล้วนำพัดลมตัวใหม่เข้ามาเปลี่ยนได้เลย อย่าลืมจำตำแหน่งของสายด้วยนะคะว่าสายสีแดงอยู่ฝั่งไหน และสีดำอยู่ฝั่งไหน อย่าสับสนกันนะคะ




จากนั้นเราก็ทำการเชื่อมสายเข้ากับแผงวงจร โดยการละลายตะกั่วลงบนหัวแร้งพอประมาณแล้วก็จิ้มลงไปที่จุดที่เราต้องการ
คำเตื่อน!!! ระวังออย่าให้สายไฟทั้งสองเส้นบนแผงวงจรติดกันนะคะ ไม่งั้นมีการลัวงจรเกิดขึ้นแน่ ฮาาาา

















ต่อมาเราก็จะมาทดสอบดูว่าพัดลมของเราใช้งานได้หรือไม่ หรือว่าเราทำการต่อวงจรสำเร็จหรือไม่ ด้วยการ นำวัสดุที่เป็นโลหะมาเสียบเชื่อมกันระหว่าง ช่องที่ 4 กับช่องที่ 5 นั่นเองค่ะ




เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย จากรั้นก็ประกอบเข้าที่เดิม เป็นอันเสร็จภารกิจ เย้ๆๆๆๆๆๆๆ




เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับวิธีการเปลี่ยนพัดลมPower supply หากเพื่อนๆถนัด หรือสะดวกวิธีไหนก็สามารถทำตามกันได้เลยนะคะ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่า ต้องทำอย่างระมัดระวังกันด้วย เมื่อทำแล้วผลออกมาเป็นอย่างไร อย่าลืมมาแชร์ความรู้กันนะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ Bye Bye