วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของสาย power supply connector

    สวัสดีตอนสายๆๆๆค่าาาาาา เพื่อนๆๆชาวไอที วันนี้เราก็มีภารกิจมาทำกันอีกเช่นเคย และภาระกิจในวันนี้ก็คือ คือ คือ...(เสียงแอคโค่ ฮาาา) การวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของ power supply connector นั่นเองค่าาาา ขอเรียกสั้นๆๆว่าสาย P1 ละกันนะคะ สั้นๆง่ายๆ ได้ใจความ แฮร่ๆๆ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดดดดดดดดดดด




     ก่อนอื่นเราก็ทำการแกะเจ้า power supply ออกมาจากเคสก่อนนะคะ เพื่อที่จะนำออกมาวัดศักย์ไฟฟ้าได้สดวก สบายไร้กังวล ฮาาาา และนี่ก็คือเจ้า power supply ของเรา
เพื่อให้รู้จัก power supply กันมากขึ้นเรามาดูหน้าที่ของ power supply กันค่ะว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง

หน้าที่ของ power supply  เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบคอมพิวเตอร์ power supplyนั้นจะมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX นั่นเองค่าาาา



    เมื่อเราได้ power supply ออกมาแล้ว เราก็เตรียมอุปกรณ์ในการวัดกันเลย โดยวันนี้เราจะใช้ Multi-meter แบบดิจิตอลนะคะ

หน้าที่ของ Multi-meter  มัลติมิเตอร์ถือว่าเป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นสำหรับงานด้านอิเล็คทรอนิกส์ เพราะว่าเป็นเครื่องวัดที่ใช้ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าคือ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบหรือการตรวจซ่อมวงจรต่าง ๆ ก็จำเป็นต้องวัดค่าไฟฟ้าค่ะ ซึ่งเจ้าMulti-meter ก็มีหน้าตาแบบนี้.....



วิธีการวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแต่ละพินของสาย power supply connector
เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วเราก็เริ่มกันเลยนะคะ โดยเริ่มจาก

1. ใช้ตัวนำไฟฟ้าเสียบเข้าพินที่ 14 และ 15 หรือเผื่อว่าเราสับสนในการนับพิน เราก็จำแค่ว่าให้เสียบตรงช่องที่สายสีเขียวกับสีดำที่อยู่ติดกัน (Power switch ON) ก็ได้ค่ะ 



2. จากนั้นเราก็ทำการต่อสาย ไฟบ้านเข้ากับ power supply ของเราค่ะ



3. นำสายวัดมิเตอร์สีดำ (-) ต่อลง Ground (กราวด์หรือพินสีดำ) หรืออาจเสียบลงน็อตยึดตัวเคสของ Power supply ก็ได้ เพื่อที่จะสะดวกต่อการวัด ไม่ต้องคอยจับทั้งสองสายวัดพร้อมกันค่ะ



4. ทำการปรับค่าพิสัยหรือสเกลวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่แรงดัน DCV  โดยเลือกย่านวัดไปที่ค่าที่สูงกว่าค่าที่เราจะวัด ในที่นี้เราจะปรับไปที่แรงดัน DC 20V เนื่องจากค่าที่มาตรฐานเราวัดจะไม่เกิน 20V นั่นเองค่ะ



5. เมื่อเตรียมอุปกรณ์และทำการเซตค่าของ Multi-meter เรียบร้อยแล้ว เราก็ทำการวัดได้เลยค่ะ โดยการนำสายสีแดง เสียบลงไปในแต่ละพิน แล้วอ่านค่าจากหน้าปัด อาจจะมีความคลาดเคลื่อนบ้าง เราก็นำไปเปรียบเทียบใน Data sheet ได้ค่ะ



















เพื่อให้มองเห็ภาพชัดเจน เรามาดูวีดีโอประกอบกันนะคะ




เพียงเท่านี้เพื่อนๆๆ ก็สามารถวัดศักย์ไฟฟ้าเอง ง่ายๆ ได้ที่บ้านแล้วค่ะ สำหรับวันนี้ก็มีเพียงเท่านี้ สวัสดีค่ะ แล้วพบกันใหม่ Blog หน้านะคะ ^^





- http://pommyblog.blogspot.com/2016/02/power-supply-connector.html
- https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
- http://www.un-sound.com/board/index.php?topic=1102.0

1 ความคิดเห็น: