วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559

Reset password ใน Linux Ubuntu

สวัสดีค่าาาาา กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับBlogความรู้ดีๆ ด้านไอที วันนี้เราได้นำความรู้ดีๆมาเสิร์ฟกันอีกแล้วค่ะ สำหรับวันนี้เราจะมานำเสนอความรู้เรื่อง วิธีแก้ไข ในกรณีลืม password ใน Linux Ubuntu กันค๊าาาาา พร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย

ก่อนอื่นเราต้องเปิด Virtual Box ขึ้นมา แล้วก็ดับเบิลคลิกเข้าไปใน Ubuntu เลยค่ะ



ขั้นตอนต่อมาจะมี Popup ขึ้นมาให้เราเลือก ขั้นตอนนี้ให้เราเลือกที่ Advanced options for Ubuntu กด enter เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปค่ะ
 


ต่อมาให้เราเลือก recovery mode แล้วกด enter เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปได้เลย
 


มาถึงขั้นตอนนี้จะมีตัวเลือกมาให้เราเลือกเยอะแยะมากมาย ให้เราเลือก root แล้วกด enter จะขึ้นในส่วนของหน้า Terminal ที่ให้เราพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ ลงไปนั่นเองค่ะ
 


มาถึงขั้นตอนสำคัญแล้วค่ะ ให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# mount -o rw,remount / ลงไปใน Terminal แล้วกด enter เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนของการตรวจสอบข้อมูลค่ะ
 


ขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนของการตรวจสอบชื่อผู้ใช้ หรือ username ที่มีในระบบของเรานะคะ ให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# ls /home ลงไปเลยค่ะ
 


มาถึงขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งแล้วค่ะ ในขั้นนี้ให้เราพิมพ์คำสั่ง  ~# passwd [user] เพื่อเลือก user ที่เราต้องการแก้ไขหรือรีเซ็ตรหัสผ่านใหม่นั่นเองค่ะ
 



จากนั้น Terminal จะแสดงข้อความ "Enter new UNIX password: " เพื่อให้เราตั้งรหัสผ่านเข้าใช้งานใหม่ ก็ให้เราพิมพ์รหัสผ่านใหม่ได้เลย เสร็จแล้วกด enter ในขั้นตอนนี้เราจะใส่รหัสเดิม หรือรหัสใหม่ก็ได้นะคะ


        ถ้าหากว่าการแก้ไขหรือรีเซ็ตรหัสผ่านเสร็จสิ้น Terminal จะแสดงข้อความว่า "passwd: password update successfully" เพื่อเป็นการยืนยันการรีเซ็ตรหัสผ่านที่เสร็จสมบูรณ์แล้วนั่นเองค่ะ
        จากนั้นให้เราพิมพ์คำสั่ง ~# exit  เพื่อออกจากหน้า Terminal ไปยังหน้าหลักของเครื่องมือเลยค่ะ
 


     เมื่อเรากลับไปยังหน้าหน้าเมนูให้เราเลือกรายการ resume เพื่อกลับไปยังการเข้าระบบแบบปกติค่ะ (ใกล้สำเร็จแล้ววววววววววว)


    จะมีPopup แจ้งเตือนขึ้นมา ให้เรากด enter เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปเลยค่ะ
 


    จะมีในส่วนที่ให้เรากรอก Username กับ Password ขึ้นมา ก็ให้เราทำการกรอกข้อมูลลงไปตามที่เราทำการรีเซ็ตไว้แล้วในเบื้องต้น
 


ถ้าเราเห็นตามภาพข้างล่างแสดงว่าเราปฏิบัติภารกิจสำเร็จแล้วค่ะ เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ




วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

จัดเสปกคอม 2

     สวัสดีค่าาาาา กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับBlogความรู้ดีๆ ด้านไอที วันนี้เราได้นำความรู้ดีๆมาเสิร์ฟถึงที่กันเลยทีเดียวค่า สำหรับวันนี้เราจะมาให้ความรู้เรื่อง การจัดสเปคคอมพิวเตอร์ มาฝากกันค่ะ ในราคา 17,000 บาท

ขั้นตอนแรกเรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆที่เราจะนำมาจัดสเปกกันก่อนนะคะ

ชิ้นแรกคือ >>
     ซีพียู คือหัวใจของคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากการประมวลผลหลักจะเกิดขึ้นที่ส่วนนี้ ซีพียูมีหลากหลายความเร็วและหลากหลายราคา โดยซีพียูปัจจุบันมีสองเจ้าหลักที่ทำการแข่งขันมาโดยตลอดคือ Intel และ AMD
    หากดูสเปคสิ่งที่ควรทราบไว้บ้างก็ได้แก่ ประเภท Socket เช่น AM3+, LGA 1150 ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าซีพียูจะเสียบลงกับเมนบอร์ดแบบไหน (หากซื้อเมนบอร์ดไม่ตรงก็เสียบไม่ได้นะจ๊ะ) ความเร็วปกติ หน่วยเป็น GHz และความเร็วแบบ Turbo ที่หน่วยจะเป็น GHz เช่นกันโดยจะสูงกว่าแบบปกติและจะปรับขึ้นเมื่อใช้งานหนัก และแคช ซึ่งเป็นหน่วยความจำชั่วคราวบนซีพียู ตัวนี้มีหน่วยเป็น MB ว่ากันง่าย ๆ คือยิ่งมาก ก็จะช่วยให้ซีพียูทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น (และราคาก็สูงตามไปด้วย)

ชิ้นที่สองคือ >>
     เมนบอร์ด เป็นเหมือนแผงวงจรหลักที่อุปกรณ์ทั้งหมดจะเสียบลงไป ฉะนั้นอันดับแรกคือต้องเลือก Socket ให้ตรงกับซีพียูที่ซื้อหรือเลือกไว้ เช่นหากซื้อซีพียูแบบ LGA 1150 ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่เป็น Socket LGA 1150 เป็นต้นเพื่อที่จะใส่ด้วยกันได้ ส่วนเรื่องรุ่นไหนรองรับซีพียูรุ่นไหนได้บ้างหรือไม่ ปัจจุบันไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก (เลือกให้ตรง socket ก็มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าจะสามารถใช้งานกับซีพียูที่ซื้อมาได้ แต่ก็ควรเช็คเพิ่มเติมเพื่อความมั่นใจ) ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องคุณสมบัติที่เมนบอร์ดมาให้ได้แก่ พอร์ตสำหรับเสียบการ์ดจอ (PCI-E) หรือพอร์ตแบบ PCI ปกติว่ามีกี่พอร์ต นอกจากนี้จะยังมีเรื่องของสล็อตแรม ปัจจุบันส่วนใหญ่มีให้ ช่องสำหรับเมนบอร์ดทั่ว ๆ ไปและ ช่องสำหรับเมนบอร์ดแพลทฟอร์มเล็ก นอกจากนี้เมนบอร์ดบางตัวอาจติดลูกเล่นอย่างสามารถรับสัญญาณ Wi-Fi หรือส่ง Bluetooth ได้ก็มีแต่ราคาก็จะสูงตามไปด้วย

ชิ้นที่สามคือ >>
     แรม สำหรับการเลือกแรมนั้นจะมีสองส่วนที่ควรพิจารณา ได้แก่บัสหรือความเร็วของแรม จะมีตั้งแต่ 1600, 1866 หรือ 2400 MHz สำหรับ DDR3 ซึ่งบัสที่สูงขึ้นก็แลกมาด้วยราคาที่สูงตามไปด้วย ซึ่งแรมที่มีค่า MHz สูง ๆ ก็เหมาะกับการใช้งานงานที่ต้องการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างแรมเช่นงานตัดต่อวิดีโอ งานด้านกราฟิก แต่หากจะว่าจริง ๆ ในการใช้งานปกตินั้นไม่เห็นผลมากนัก ฉะนั้นเลือกเอาตามที่ชอบและเมนบอร์ดของตัวเองรองรับก็แล้วกัน

ชิ้นที่สี่คือ >>
     ฮาร์ดดิสก์ สื่อเก็บข้อมูลหลักในคอมพิวเตอร์ของเรา ปัจจุบันมีสองแบบคือ HDD (Hard Disk Drive) ซึ่งเป็นแบบจานหมุนใช้หัวอ่าน แบบที่เรารู้จักกันดี และล่าสุดที่กำลังนิยมใช้กันคือ SSD (Solid State Driveที่เก็บข้อมูลลงชิปหน่วยความจำ HDD ปัจจุบันครองตลาดอยู่สองยี่ห้อคือ Seagate และ Western Digital (WD) ซึ่งยี่ห้อ Seagate ไม่ได้มีการซอยรุ่นสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านมากมายนัก (ส่วนใหญ่เป็น Baracuda ทั้งสิ้น) แต่อีกยี่ห้อคือ Western Digital มีการแบ่งรุ่นออกเป็นสี ๆ ได้แก่รุ่น Green, Blue, Black และเมื่อไม่นานมานี้ก็มีเพิ่มมาอีกให้ได้งงกันเพิ่มคือ Red, Purple เรียกได้ว่ามีห้าสีกันเข้าไปแล้ว
     สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแบบเรา ๆ จะใช้งานกันส่วนใหญ่แค่สามสีแรกคือ Green, Blue, Black ซึ่งเรียงตามประสิทธิภาพโดย Green เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เหมาะแก่การเก็บข้อมูลสำรองไว้ (เช่นการใช้งานแบบ External) และไม่ได้เรียกใช้งานบ่อย ๆ เนื่องจากประสิทธิภาพนั้นไม่ได้รวดเร็วทันใจมากนัก ส่วน Blue เป็นรุ่นระหว่าง Green, Black ที่เน้นประสิทธิภาพขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ยังประหยัดไฟอยู่ ส่วน Black เป็นรุ่นบนสุดที่เน้นความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล และแน่นอนว่ากินไฟมากที่สุดในสามสีนี้และเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่คุณคาดหวังเรื่องความเร็ว เช่นเก็บเกม หรือไฟล์วิดีโอสำหรับใช้ในงานตัดต่อ
ส่วนอีกสองสีคือ Red, Purple เป็นรุ่นสำหรับใช้งานบนเครื่องเก็บข้อมูลเช่น NAS หรือเครื่องบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดหรือทีวี เป็นต้น

ชิ้นที่ห้าคือ >>
     การ์ดจอ โดยการ์ดระดับล่าง ๆ ก็จะเน้นการทำงานแบบเบา ๆ หรือเล่นเกมที่ไม่ได้กินสเปคมากมายนักเช่นเกมออนไลน์ ส่วนการ์ดระดับกลางถึงสูงนั้นจะมีประสิทธิภาพที่สูง สามารถปรับกราฟิกได้สวยงามมากกว่าและเหมาะกับการทำงานที่ใช้การประมวลผลจาก gpu มาก ๆ เช่นงานตัดต่อวิดีโอหรือปั้นโมเดล (มีซีรี่ส์การ์ดอย่าง Quadro, Firepro ซึ่งออกแบบมาเพื่องานด้านนี้โดยเฉพาะด้วย)

ชิ้นที่หกคือ >>
     ตัวจ่ายไฟ (Power Supply)
     ปัจจุบัน PSU จะมีสองแบบคือถอดสายได้ (Modular) และถอดสายไม่ได้ (Non Modular) แบบถอดสายได้ความได้เปรียบที่สุดคือเสียบเฉพาะสายที่ใช้งาน ทำให้ภายในคอมพิวเตอร์ของเราเป็นระเบียบมากกว่าเนื่องจากจัดสายได้ง่ายนั่นเอง มันไม่ง่ายเลยที่จะจัดสายเยอะ ๆ ภายในเคสตัวเล็กนิดเดียว
ยี่ห้อที่เชื่อมั่นใจได้ซึ่งขายในบ้านเราก็ได้แก่ Corsair, Enermax, Silverstone, Seasonic ยี่ห้อเหล่านี้ถือว่าเป็นยี่ห้อที่ไว้ใจได้และทำรุ่นตั้งแต่แบบถอดสายไม่ได้ จนไปถึงแบบถอดสายได้ทุกเส้น (Full Modular)
     ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ นอกจากนี้ควรเลือกแบบวัตต์แท้ไว้ก่อนจะเป็นเรื่องดี แต่ควรใช้ยี่ห้อด้านบนดีกว่าค่ะ เพราะว่าของแบบนี้พังไปทีนึงงานอาจจะเข้ากันได้ง่าย ๆ เพราะบางครั้งมันไม่ได้พังแค่ตัวเดียว แต่ไฟจะกระชากเอาชีวิตอุปกรณ์อื่น ๆ ของคุณไปด้วย เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือการ์ดจอ

ชิ้นที่เจ็ดคือ >>
     จอแสดงผล (Monitor)
     จอนั้นปัจจุบันมีหลายแบบโดยแยกตามคุณภาพของวัสดุภายนอก ภายใน และการเชื่อมต่อ โดยจอมอนิเตอร์นั้นปัจจุบันถ้าให้แนะนำคือควรจะใช้งานสัก 20 นิ้วเป็นอย่างต่ำ และความละเอียดระดับ Full HD (1920 x 1080) เพื่อที่จะรองรับการดูหนังฟังเพลงในยุคนี้แบบเต็มที่

ชิ้นที่แปดคือ >>
     เคส (Case)
     เคสคอมพิวเตอร์ก็คือตัวถังมีหน้าที่ทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างอยู่กับเป็นกลุ่มเป็นก้อน รวมถึงจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ หลักการเลือกเคสคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนนัก นอกจากหน้าตาและจำนวนช่องที่มีให้แล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาคือ Form Factor ที่ควรเลือกให้เข้ากับเมนบอร์ด เช่นหากเมนบอร์ดของคุณเป็นแบบ ATX (ซึ่งเป็นเมนบอร์ดที่ใหญ่ที่สุด) ก็ควรเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดชนิดนี้ด้วย โดยหากคุณเลือกเคสที่รองรับแบบ ATX แล้วจะสามารถใส่กับบอร์ดที่เล็กกว่านี้ได้เช่นเดียวกัน (mATX) แต่ข้อเสียของเคสที่รองรับ ATX คือจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างใหญ่กว่าเคสที่รองรับสูงสุดแค่ mATX ซึ่งหลายคนจะชอบหรือไม่นั้นก็แล้วแต่ละบุคคล

มาดูการจัดสเปกคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้างค่ะว่าจะมีอะไรกันบ้าง

ตามรูปที่เราได้จัดสเปกไว้จะรวมราคาได้ 15,930 บาทนะคะ เพราะว่ายังไม่รวมจอมอนิเตอร์นะคะ ถ้าเกิดว่าเพื่อนๆ อยากได้รุ่นไหนก็ เลือกตามชอบเลยค่ะ ส่วนเราขอเลือกเป็นจอภาพ เลือกเป็น BENQ ในราคา 2,520 บาท มีคุณสมบัติพอใช้ เหมาะสมกับการใช้งาน อาจจะเกินงบมานิดหน่อยนะคะ อิอิ






http://notebookspec.com/PCspec?pw=1
http://www.techblog.in.th/2010/06/30/23-recommended-tips-for-buying-lcd-tv-or-monitor/
http://www.techblog.in.th/2015/03/24/pc-spec-build-your-own-pc-guide/

การติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box

สวัสดีค่าาาาา กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับBlogความรู้ดีๆ ด้านไอที วันนี้เราได้นำความรู้ดีๆมาเสิร์ฟกันอีกแล้วค่ะ สำหรับวันนี้เราจะมานำเสนอความรู้เรื่อง การติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box กันค่ะ


Ubuntu คืออะไร???
Ubuntu คือ Operating System หนึ่งที่พัฒนามาจากระบบ Unix (เช่นเดียวกับ Mac OS X) แต่เป็นซอฟต์แวร์เสรีทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถแก้ไขดัดแปลงได้โดยเสรี

ข้อดีของ Ubuntu(ตามความคิดของผู้เขียน)
-ไม่มีไวรัสให้กวนใจ(เพราะคนใช้งานยังน้อย)
-บูตเร็ว อันนี้สุดยอดมากค่ะ บูตแล้วใช้ได้เลย ไม่ต้องรอโหลดโปรแกรม
-โปรแกรมเยอะแยะมากมายทั้งฟรีทั้งเสียเงิน เกมส์ มากมาย
-สามารถรัน .exe (ซึ่งปกติจะรันบน Windows) ได้ โดยใช้ โปรแกรม Wine
ข้อเสีย
-ภาษาไทยยังไม่สมบูรณ์แบบในบางโปรแกรม
-คนที่เพิ่งหัดใช้อาจจะใช้ไม่ถนัด แต่เล่นๆไปก็ถนัดเองค่ะ

VirtualBox คืออะไร???
สำหรับในส่วนของ โปรแกรม VirtualBox เป็น โปรแกรมจำลองวินโดวส์ พัฒนาโดยค่าย Oracle มันเป็นโปรแกรมที่เอาไว้จำลองวินโดวส์ หรือ จำลองคอมพิวเตอร์ เหมือนเรามีคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดิม เครื่องเดียวกัน โดยคุณสามารถที่จะลงระบบปฏิบัติการ (OS) อะไรก็ได้ที่อยากจะทดลองใช้ หรือว่าจะทดลองติดตั้งโปรแกรมก่อนลงเครื่องจริงๆ นั่นเอง

ต่อมาเรามาดูขั้นตอนการ การติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box กันนะคะ
     1.ก่อนอื่นเราต้องไปดาวน์โหลด โปรแกรม VirtualBox มาติดตั้งในเครื่องของเราก่อนนะคะ จากนี้ไปเราก็มาเริ่มสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเครื่องเสมือนขึ้นโดยไปคลิ๊กที่ปุ่ม New



2.จะมีpop up ขึ้นมาให้เรากรอกชื่อ ในที่นี้เราจะใส่ชื่ออะไรก็ได้นะคะ เพื่อเป็นการตั้งชื่อเครื่องของเรา และ เลือกชนิด Os ที่เราจะติดตั้งได้เลยค่ะ พอเสร็จแล้วให้เรากดปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปได้เลยยยยยย


3.ต่อมาเราจะมากำหนดขนาดของหน่วยความจำกันนะคะ ว่าจะให้เครื่องของเรามีขนาดเท่าไร เราสามารถกำหนดเป็นขนาดเท่าไรก็ได้ ตามความต้องการใช้งานของเรา แต่ในที่นี้จะกำหนดเป็น 1 Gb. ค่ะ หรือ 1024 นั่นเอง


     4. มาดูเรื่องของ Hard drive กันค่ะ จะมีให้เลือก 3 อย่างคือ
          1. Do not add a virtual hard drive คือ ไม่เพิ่มขนาดของพื้นที่เอาตามที่โปรแกรมทำให้ คือ ขนาดพื้นที่ 8Gb
          2. Create a virtual hard drive now คือ เรากำหนดขนาดของพื้นที่เอง
          3. Use an existing virtual hard drive file คือ เอาตามที่โปรแกรมเห็นสมควร จะมีให้เลือกหลายขนาด ในที่นี้ให้เลือก ข้อ 2. Create a virtual hard drive now ค่ะ เมื่อเลือกแล้วก็กด Create เลยยยย



5. ต่อมาก็จะเป็นการเลือกชนิดหรือประเภทของ drive นะคะ ที่เราเห็นเรียงรายอยู่ใน pop up นั้นก็คือ ไฟล์ๆหนึ่งที่ VM สร้างขึ้น เพื่อจำลอง Hard drive นั่นเองค่ะ ในขั้นตอนนี้เราจะเลือก เป็นชนิด DVI นะคะ จากนั้นก็กด Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปค่ะ


6. ต่อมาจะเป็นการกำหนดพื้นที่ของ Hard Drive นะคะ จะมีให้เลือก 2 แบบคือ Dynamic และ Fixed ในขั้นตอนนี้เราจะเลือกเป็นแบบ Dynamic นะคะ เพื่อที่จะให้ระบบจองพื้นที่ Hard drive ไปเรื่อยๆ เมื่อมีการใช้งานนั่นเองค่ะ


7. ถ้าหากเราอยากเพิ่มจำนวนพื้นที่ ก็สามารถเพิ่มได้นะคะ โดยกำหนดตรงช่องสี่เหลี่ยมในรูปนะคะ ในที่นี้จะขอเป็น 8 GB. เหมือนเดิมละกันค่ะ


8.     ตอนนี้เราก็มาถึงขั้นตอนการลง Ubuntu กันแล้วนะคะ ให้เราไปกดที่ปุ่ม Start เลยค่ะ
จากนั้นก็ติ๊กตรง Do not show the message again แล้วคลิก OK


9.  ต่อมาก็จะถามหาไฟล์ที่เราจะใช้ติดตั้ง ก็ให้เราไปเลือกไฟล์ ISO ที่เราเตรียมไว้ตั้งแต่ทีแรกเลยนะคะ ก็คลิกเลือก แล้วก็กด Open เลยค่ะ





10.  จากนั้นก็จะเป็นกระบวนการเริ่มติดตั้ง Ubuntu เลยนะคะ ก็ให้เราเลือกตั้งค่าภาษาที่เราจะใช้ คีย์บอร์ด ตั้งชื่อ รหัสผ่าน หรืออื่น ๆ ในขั้นตอนต่อจากนี้ได้เลยค่ะ







รอระบบโหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อทำการติดตั้งเองอัตโนมัติไปเรื่อยๆ ค่ะ


รอระบบโหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ




ทำการตั้งชื่อHost name ค่ะ 




แล้วก็ตั้ง User name 




รอเครื่องรีบูตก็เป็นอันเสร็จภารกิจแล้วค่า






http://software.thaiware.com/7885-VirtualBox-Download.html
http://kornerboy-ubuntu.blogspot.com/2011/03/ubuntu-server-ubuntu-desktop.html

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

รีวิวการจัดสเปกคอมพิวเตอร์

     สวัสดีค่าาาาา กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ สำหรับBlogความรู้ดีๆ ด้านไอที วันนี้เราได้นำความรู้ดีๆมาเสิร์ฟถึงที่กันเลยทีเดียวค่า สำหรับวันนี้เราจะมาให้ความรู้เรื่อง การจัดสเปคคอมพิวเตอร์ มาฝากกันค่ะ
    แบบที่ 1. สำหรับ โฮมออฟฟิศ ในราคา 17,500
    และ อัพเกรดเป็น แบบที่ 2. สำหรับ เริ่มต้นเล่นเกมมือใหม่ ในราคา 21,000

ขั้นตอนแรกเรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆที่เราจะนำมาจัดสเปกกันก่อนนะคะ

ชิ้นแรกคือ >>
     ซีพียู คือหัวใจของคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากการประมวลผลหลักจะเกิดขึ้นที่ส่วนนี้ ซีพียูมีหลากหลายความเร็วและหลากหลายราคา โดยซีพียูปัจจุบันมีสองเจ้าหลักที่ทำการแข่งขันมาโดยตลอดคือ Intel และ AMD
    หากดูสเปคสิ่งที่ควรทราบไว้บ้างก็ได้แก่ ประเภท Socket เช่น AM3+, LGA 1150 ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าซีพียูจะเสียบลงกับเมนบอร์ดแบบไหน (หากซื้อเมนบอร์ดไม่ตรงก็เสียบไม่ได้นะจ๊ะ) ความเร็วปกติ หน่วยเป็น GHz และความเร็วแบบ Turbo ที่หน่วยจะเป็น GHz เช่นกันโดยจะสูงกว่าแบบปกติและจะปรับขึ้นเมื่อใช้งานหนัก และแคช ซึ่งเป็นหน่วยความจำชั่วคราวบนซีพียู ตัวนี้มีหน่วยเป็น MB ว่ากันง่าย ๆ คือยิ่งมาก ก็จะช่วยให้ซีพียูทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น (และราคาก็สูงตามไปด้วย)

ชิ้นที่สองคือ >>
     เมนบอร์ด เป็นเหมือนแผงวงจรหลักที่อุปกรณ์ทั้งหมดจะเสียบลงไป ฉะนั้นอันดับแรกคือต้องเลือก Socket ให้ตรงกับซีพียูที่ซื้อหรือเลือกไว้ เช่นหากซื้อซีพียูแบบ LGA 1150 ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่เป็น Socket LGA 1150 เป็นต้นเพื่อที่จะใส่ด้วยกันได้ ส่วนเรื่องรุ่นไหนรองรับซีพียูรุ่นไหนได้บ้างหรือไม่ ปัจจุบันไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก (เลือกให้ตรง socket ก็มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าจะสามารถใช้งานกับซีพียูที่ซื้อมาได้ แต่ก็ควรเช็คเพิ่มเติมเพื่อความมั่นใจ) ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องคุณสมบัติที่เมนบอร์ดมาให้ได้แก่ พอร์ตสำหรับเสียบการ์ดจอ (PCI-E) หรือพอร์ตแบบ PCI ปกติว่ามีกี่พอร์ต นอกจากนี้จะยังมีเรื่องของสล็อตแรม ปัจจุบันส่วนใหญ่มีให้ 4 ช่องสำหรับเมนบอร์ดทั่ว ๆ ไปและ 2 ช่องสำหรับเมนบอร์ดแพลทฟอร์มเล็ก นอกจากนี้เมนบอร์ดบางตัวอาจติดลูกเล่นอย่างสามารถรับสัญญาณ Wi-Fi หรือส่ง Bluetooth ได้ก็มีแต่ราคาก็จะสูงตามไปด้วย

ชิ้นที่สามคือ >>
     แรม สำหรับการเลือกแรมนั้นจะมีสองส่วนที่ควรพิจารณา ได้แก่บัสหรือความเร็วของแรม จะมีตั้งแต่ 1600, 1866 หรือ 2400 MHz สำหรับ DDR3 ซึ่งบัสที่สูงขึ้นก็แลกมาด้วยราคาที่สูงตามไปด้วย ซึ่งแรมที่มีค่า MHz สูง ๆ ก็เหมาะกับการใช้งานงานที่ต้องการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างแรมเช่นงานตัดต่อวิดีโอ งานด้านกราฟิก แต่หากจะว่าจริง ๆ ในการใช้งานปกตินั้นไม่เห็นผลมากนัก ฉะนั้นเลือกเอาตามที่ชอบและเมนบอร์ดของตัวเองรองรับก็แล้วกัน

ชิ้นที่สี่คือ >>
     ฮาร์ดดิสก์ สื่อเก็บข้อมูลหลักในคอมพิวเตอร์ของเรา ปัจจุบันมีสองแบบคือ HDD (Hard Disk Drive) ซึ่งเป็นแบบจานหมุนใช้หัวอ่าน แบบที่เรารู้จักกันดี และล่าสุดที่กำลังนิยมใช้กันคือ SSD (Solid State Drive) ที่เก็บข้อมูลลงชิปหน่วยความจำ HDD ปัจจุบันครองตลาดอยู่สองยี่ห้อคือ Seagate และ Western Digital (WD) ซึ่งยี่ห้อ Seagate ไม่ได้มีการซอยรุ่นสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านมากมายนัก (ส่วนใหญ่เป็น Baracuda ทั้งสิ้น) แต่อีกยี่ห้อคือ Western Digital มีการแบ่งรุ่นออกเป็นสี ๆ ได้แก่รุ่น Green, Blue, Black และเมื่อไม่นานมานี้ก็มีเพิ่มมาอีกให้ได้งงกันเพิ่มคือ Red, Purple เรียกได้ว่ามีห้าสีกันเข้าไปแล้ว
     สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแบบเรา ๆ จะใช้งานกันส่วนใหญ่แค่สามสีแรกคือ Green, Blue, Black ซึ่งเรียงตามประสิทธิภาพโดย Green เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เหมาะแก่การเก็บข้อมูลสำรองไว้ (เช่นการใช้งานแบบ External) และไม่ได้เรียกใช้งานบ่อย ๆ เนื่องจากประสิทธิภาพนั้นไม่ได้รวดเร็วทันใจมากนัก ส่วน Blue เป็นรุ่นระหว่าง Green, Black ที่เน้นประสิทธิภาพขึ้นมานิดหน่อย แต่ก็ยังประหยัดไฟอยู่ ส่วน Black เป็นรุ่นบนสุดที่เน้นความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล และแน่นอนว่ากินไฟมากที่สุดในสามสีนี้และเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่คุณคาดหวังเรื่องความเร็ว เช่นเก็บเกม หรือไฟล์วิดีโอสำหรับใช้ในงานตัดต่อ
ส่วนอีกสองสีคือ Red, Purple เป็นรุ่นสำหรับใช้งานบนเครื่องเก็บข้อมูลเช่น NAS หรือเครื่องบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดหรือทีวี เป็นต้น

ชิ้นที่ห้าคือ >>
     การ์ดจอ โดยการ์ดระดับล่าง ๆ ก็จะเน้นการทำงานแบบเบา ๆ หรือเล่นเกมที่ไม่ได้กินสเปคมากมายนักเช่นเกมออนไลน์ ส่วนการ์ดระดับกลางถึงสูงนั้นจะมีประสิทธิภาพที่สูง สามารถปรับกราฟิกได้สวยงามมากกว่าและเหมาะกับการทำงานที่ใช้การประมวลผลจาก gpu มาก ๆ เช่นงานตัดต่อวิดีโอหรือปั้นโมเดล (มีซีรี่ส์การ์ดอย่าง Quadro, Firepro ซึ่งออกแบบมาเพื่องานด้านนี้โดยเฉพาะด้วย)

ชิ้นที่หกคือ >>
     ตัวจ่ายไฟ (Power Supply)
     ปัจจุบัน PSU จะมีสองแบบคือถอดสายได้ (Modular) และถอดสายไม่ได้ (Non Modular) แบบถอดสายได้ความได้เปรียบที่สุดคือเสียบเฉพาะสายที่ใช้งาน ทำให้ภายในคอมพิวเตอร์ของเราเป็นระเบียบมากกว่าเนื่องจากจัดสายได้ง่ายนั่นเอง มันไม่ง่ายเลยที่จะจัดสายเยอะ ๆ ภายในเคสตัวเล็กนิดเดียว
ยี่ห้อที่เชื่อมั่นใจได้ซึ่งขายในบ้านเราก็ได้แก่ Corsair, Enermax, Silverstone, Seasonic ยี่ห้อเหล่านี้ถือว่าเป็นยี่ห้อที่ไว้ใจได้และทำรุ่นตั้งแต่แบบถอดสายไม่ได้ จนไปถึงแบบถอดสายได้ทุกเส้น (Full Modular)
     ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ นอกจากนี้ควรเลือกแบบวัตต์แท้ไว้ก่อนจะเป็นเรื่องดี แต่ควรใช้ยี่ห้อด้านบนดีกว่าค่ะ เพราะว่าของแบบนี้พังไปทีนึงงานอาจจะเข้ากันได้ง่าย ๆ เพราะบางครั้งมันไม่ได้พังแค่ตัวเดียว แต่ไฟจะกระชากเอาชีวิตอุปกรณ์อื่น ๆ ของคุณไปด้วย เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือการ์ดจอ

ชิ้นที่เจ็ดคือ >>
     จอแสดงผล (Monitor)
     จอนั้นปัจจุบันมีหลายแบบโดยแยกตามคุณภาพของวัสดุภายนอก ภายใน และการเชื่อมต่อ โดยจอมอนิเตอร์นั้นปัจจุบันถ้าให้แนะนำคือควรจะใช้งานสัก 20 นิ้วเป็นอย่างต่ำ และความละเอียดระดับ Full HD (1920 x 1080) เพื่อที่จะรองรับการดูหนังฟังเพลงในยุคนี้แบบเต็มที่

ชิ้นที่แปดคือ >>
     เคส (Case)
     เคสคอมพิวเตอร์ก็คือตัวถังมีหน้าที่ทำให้อุปกรณ์ทุกอย่างอยู่กับเป็นกลุ่มเป็นก้อน รวมถึงจัดการสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบ หลักการเลือกเคสคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้มีอะไรที่ซับซ้อนนัก นอกจากหน้าตาและจำนวนช่องที่มีให้แล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาคือ Form Factor ที่ควรเลือกให้เข้ากับเมนบอร์ด เช่นหากเมนบอร์ดของคุณเป็นแบบ ATX (ซึ่งเป็นเมนบอร์ดที่ใหญ่ที่สุด) ก็ควรเลือกเคสที่รองรับเมนบอร์ดชนิดนี้ด้วย โดยหากคุณเลือกเคสที่รองรับแบบ ATX แล้วจะสามารถใส่กับบอร์ดที่เล็กกว่านี้ได้เช่นเดียวกัน (mATX) แต่ข้อเสียของเคสที่รองรับ ATX คือจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างใหญ่กว่าเคสที่รองรับสูงสุดแค่ mATX ซึ่งหลายคนจะชอบหรือไม่นั้นก็แล้วแต่ละบุคคล

มาดูการจัดสเปกคอมพิวเตอร์ของเรากันบ้างค่ะว่าจะมีอะไรกันบ้าง

ตามรูปที่เราได้จัดสเปกไว้จะรวมราคาได้ 15,930 บาทนะคะ เพราะว่ายังไม่รวมจอมอนิเตอร์นะคะ ถ้าเกิดว่าเพื่อนๆ อยากได้รุ่นไหนก็ เลือกตามชอบเลยค่ะ ส่วนเราขอเลือกเป็นจอภาพ เลือกเป็น BENQ ในราคา 2,520 บาท มีคุณสมบัติพอใช้ เหมาะสมกับการใช้งาน อาจจะเกินงบมานิดหน่อยนะคะ อิอิ

มาดูแบบที่ 2 กันบ้างนะคะ นั่นก็คือ ถ้าเราอยากอัพเกรดคอมพิวเตอร์ของเราให้เหมาะกับการเล่นเกมส์ด้วยงบ  21,000 จะมีอะไรบ้างไปดูกันเล้ยยยย

     เราจะอัพเกรด CPU จาก INTEL Core i3-4150 3.50 GHz  เป็น INTEL Core i5-4460 3.20 GHz เพื่อเริ่มความเร็วในการประมวลผล เปลี่ยน การ์ดจอ จาก ASUS GTX750TI OC เป็น MSI GTX950 GAMING ซึ่งจะมีความเร็วในการแสดงผลกราฟฟิกมากกว่า และเปลี่ยนจอภาพเป็น SAMSUNG S19A300เพิ่มความละเอียดของภาพให้ดูสวยขึ้น








http://notebookspec.com/PCspec?pw=1
http://www.techblog.in.th/2010/06/30/23-recommended-tips-for-buying-lcd-tv-or-monitor/
http://www.techblog.in.th/2015/03/24/pc-spec-build-your-own-pc-guide/